ยานจันทรายาน2 เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่ยานอวกาศ มีกำหนดลงจอด 7ก.ย.นี้ หากภารกิจสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศมี่4 นำยานลงจอดพื้นดวงจันทร์
วันนี้(23ส.ค.2562) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่ายานอวกาศจัทรายาน2 จากประเทศอินเดีย เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่22ก.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดลงจอดในวันที่7ก.ย.62นี้ หากสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศที่4 ต่อจากรัสเซีย อเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศ ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
อ่านข่าว อินเดียส่งยานจันทรายาน2ไปจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย(ISRO) เปิดเผยว่า ขั้นตอนการส่งยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์เป็ฯหนึ่งในขั้นตอนที่ยากและท้าทายมาก เนื่องจากหากยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากเกินไป แรงโน้มถ่วงดวงจันทร์จะไม่สามารถดึงยานอวกาศให้อยู่ในวงโคจรได้ และอาจทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่เลยจากเป้าหมายออกไปไกลในอวกาศ หรือถ้ายานอวกาศมีความเร็วน้อยเกินไปก็จะไม่สามารถรักษาระดับความสูงขณะโตจรรอบดวงจันทร์ได้และถูกแรงโน้มถ่วงดึงลงมาจนกระแทกพื้นผิวของดวงจันทร์ในที่สุด
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับระดับความเร็วของยานอวกาศขณะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ รวมทั้งทิศทางการเอียงและความสูงจากผิวดวงจันทร์ที่เหมาะสมอย่างละเอียด ถูกต้องและแม่นยำทุกขั้นตอน เพื่อให้ภารกิจดังกล่าวประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้
ความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนของจันทรายาน2เกิดขึ้นจากประสบการณืและความสำเร็จในการส่งยานจันทรายาน1เพื่อโคจรรอบดวงจันทร์ เมื่อปี2551ที่ผ่านมา สำหรับขั้นตอนถัดไป ไม่ว่าจะเป็นการลงจอดหรือสำรวจพื้นดวงจันทร์ จะเป็นก้าวกระโดดครั้งใหม่ที่สำคัญอย่างมากสำหรับโครงการสำรวจอวกาศของประเทศอินเดีย ซึ่งจะนำไปสู่แผนการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
พาราฟิตบ่มน้ำยางข้น จาก 21 วันเหลือแค่ 3
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เผยว่า ปกติการผลิตน้ำยางพาราข้นที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีส่วนผสมของแอมโ...
-
ข่าวที่โพสต์วันที่8สิงหาคม2562 หายไป เกิดเหตุสารเคมีในโรงงานรั่ว พนักงานวิ่งหนีตาย เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุเอาไว้ได้ทัน จากเหตุการณ์นี้ไม...
-
1.4 หน่วยวัด การระบุหน่วยของการวัดปริมาตรต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นความยาวมวลอุณหภูมิอาจแตกต่างกันแต่ละประเทศ และในบางกรณี นำ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น