วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

บทที่1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
1.1 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี
      การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ทำการทดลอง
 ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำการปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมีและกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลัง
เสร็จสิ้นการปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย                                    1.1.1 ประเภทสารเคมี
          สารเคมี มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้
          1.ชื่อผลิตภัณฑ์ 
          2.รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
          3.คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายของสารเคมี
          4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

                                                              
     บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย ที่สื่อความหมายได้ชัดเจนในที่นี้จะกล่าวถึงสองระบบ ได้แก่Globally Harmonized System of classification and labelling of chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และNational fire protection association hazard identification system (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในอเมริกา
                                                             
     สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายด้านต่างๆ ได้แก่
สีแดง แทน ความไวไฟ
สีน้ำเงิน แทน ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สีเหลือง แทน ความว่องไวการเกิดปฏกิริยาเคมี
สีขาว แทน สัญลักษณ์แสดงสมบัติความอันตรายด้านต่างๆ
โดยเศษตัวเลข0-4 ระบุระดับความอันตรายจากน้อยไปมาก 


นอกจากแสดงความอันตรายแล้ว ต้องมีเอกสารความปลอดภัยด้วย
     1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิกิริยสารเคมี
          ก่อนทำปฏิบัติการ
               1.ศึกษาขั้นตอนวิธีการให้เข้าใจ
               2.ศึกษาข้อมูลบนสารเคมีและเท๕นิคเครื่องมือต่างๆ
               3.แต่งกายให้เหมาะสม
          ขณะปฏิบัติ
               1.)ข้อปฏบัติทั่วไป
                    1.1สวมแว่นตานิรภัยและสวมผ้าปิดปาก
                    1.2ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการ
                    1.3ไม่ทำการทดลองคนเดียว
                    1.4ไม่เล่นขณะทำการทดลอง
                    1.5ทำตามขั้นตอนการมดลองอย่างเคร่งครัด
                    1.6ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์มีความร้อน
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 2.1 อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ 2.2 เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง 2.3 หันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 2.4 ห้ามชิมสารเคมี 2.5 ห้ามเทน้ำลงกรดต้องให้กรดลงน้ำ 2.6 ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม 2.7 ทำสารเคมีหกให้เช็ด
          หลังปฏบัติ
                    1.ทำความสะอาดอุปกรณ์
                    2.ก่อนออกจากห้อง ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้เรียบร้อย
     1.1.3 การกำจัดสารเคมี 
               1.สารเคมีที่เป็นของเหลวและเป็นกลาง เทลงอ่างได้เลย
               2.สารเคมีที่เข้มข้น เจือจางก่อนเทลงอ่าง
               3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ใส่ถุงให้มิดชิด
               4.สารไวไฟ สารประกอบของโลหะเป็นพิษห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พาราฟิตบ่มน้ำยางข้น จาก 21 วันเหลือแค่ 3

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เผยว่า ปกติการผลิตน้ำยางพาราข้นที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีส่วนผสมของแอมโ...