ยานจันทรายาน2 เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่ยานอวกาศ มีกำหนดลงจอด 7ก.ย.นี้ หากภารกิจสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศมี่4 นำยานลงจอดพื้นดวงจันทร์
วันนี้(23ส.ค.2562) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่ายานอวกาศจัทรายาน2 จากประเทศอินเดีย เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่22ก.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดลงจอดในวันที่7ก.ย.62นี้ หากสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศที่4 ต่อจากรัสเซีย อเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศ ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
อ่านข่าว อินเดียส่งยานจันทรายาน2ไปจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย(ISRO) เปิดเผยว่า ขั้นตอนการส่งยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์เป็ฯหนึ่งในขั้นตอนที่ยากและท้าทายมาก เนื่องจากหากยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากเกินไป แรงโน้มถ่วงดวงจันทร์จะไม่สามารถดึงยานอวกาศให้อยู่ในวงโคจรได้ และอาจทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่เลยจากเป้าหมายออกไปไกลในอวกาศ หรือถ้ายานอวกาศมีความเร็วน้อยเกินไปก็จะไม่สามารถรักษาระดับความสูงขณะโตจรรอบดวงจันทร์ได้และถูกแรงโน้มถ่วงดึงลงมาจนกระแทกพื้นผิวของดวงจันทร์ในที่สุด
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับระดับความเร็วของยานอวกาศขณะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ รวมทั้งทิศทางการเอียงและความสูงจากผิวดวงจันทร์ที่เหมาะสมอย่างละเอียด ถูกต้องและแม่นยำทุกขั้นตอน เพื่อให้ภารกิจดังกล่าวประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้
ความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนของจันทรายาน2เกิดขึ้นจากประสบการณืและความสำเร็จในการส่งยานจันทรายาน1เพื่อโคจรรอบดวงจันทร์ เมื่อปี2551ที่ผ่านมา สำหรับขั้นตอนถัดไป ไม่ว่าจะเป็นการลงจอดหรือสำรวจพื้นดวงจันทร์ จะเป็นก้าวกระโดดครั้งใหม่ที่สำคัญอย่างมากสำหรับโครงการสำรวจอวกาศของประเทศอินเดีย ซึ่งจะนำไปสู่แผนการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ใช้หุ่นยนต์ในการสร้างยาปฏิชีวนะใหม่
ธรรมชาติถือเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ของสารประกอบทางเคมีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายชนิด ทว่า สารเคมีที่น่าสนใจที่สุดมักมาจากสิ่งมีชีวิต ทว่านำมาใช้งานได้ยากในห้งปฏิการทดลองโดยเฉพาะสารประกอบเคมีประเภทพอลิคีไทด์ คือกลุ่มสารเคมีที่สำคัญซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยแบคทีเรียในดินและจุลินทรีย์อื่นๆ
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ เผยคามสำเร็จในการสร้างแบคทีเรียลำไส้ ที่พบบ่อยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยบาปฏิชีวนะดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ พอลิคีไทด์ คลาสทู เกิดจากแบคทีเรียในดินตามธรรมชาติและมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียอันมีความสำคัญในอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ที่เชื่อว่าจะนำไปใช้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งได้
การิจัยนี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของวิธีการรวมเครื่องจักรกลการผลิตแบคทีเรียเข้ากับเอนไซม์จากพืชและเชื้อรา จนเกิดความเป็นไปได้ที่จะสร้างสารประกอบทางเคมีใหม่ๆ ได้แบบอัตโนมัติ แต่ยังจะสามารถเขียนลำดับดีเอ็นเอของเส้นทางการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเผยว่าน่าจะใช้เวลาราว1ปี ในการสร้างและทดสอบยาปฏิชีวนะที่อาจเกิดขึ้นได้ถึง 10 ชนิด
วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ชวนชม "ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์" คืนนี้ถึงรุ่งเช้า31ก.ค.
สดร.เชิญชวนประชาชนชม "ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์" ในคืนวันที่30ก.ค.ตั้งแต่เวลา 22:00น. จนถึงรุ่งเช้าวันพรุ่งนี้ โดยหากฟ้าเปิดและไม่มีฝนตกสามารถชมได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ
วันนี้(30ก.ค.2562) ผู้สื่อข่วรายงานว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เชิญชวนประชาชนชมฝนดาวตกเดลต้าอควอริดสื หรือ ฝนดาวตกในดาวคนแบกหม้อน้ำ ซึ่งจะสังเกตได้ในคืนวันที่30ก.ค.ตั้งแต่เวลา 22:00น. จนถึงรุ่งเช้าวันที่31ก.ค.นี้
โดยจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ25ดวงต่อชั่วโมง ศูน์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทางทิศตะวันออกและไม่มีดวงจันทร์รบกวน สำหรับผู้ที่สนใจชมปรากฏณ์การณ์ฝนดาวตก แนะนำให้อยู่ในที่มืดสนิทและห่างจากแสงเมือง หากฟ้าใสและไม่มีฝนดาวตกจะสามารถชมได้ด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ฝนดาวตก เกิดจากฝุ่นละอองที่ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้องเหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า
สดร. ชวนชม "ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์" คืนวันแม่12ส.ค.นี้ (สัปดาห์ที่2หลังสอบกลางภาค)
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม "ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์" คืนวันแม่12ส.ค.จนถึงรุ่งเช้าวันที่13ส.ค.2562 สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและมองเห็นด้วยตาเปล่าทั่วไทยในที่มืดสนิท
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริหารวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (สดร.) กล่าวว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่าง17ก.ค.-24ส.ค. ของทุกปี มักมีอัตราการตกสูงสุดในคืนวันที่12-13ส.ค. จึงได้รับสมญาว่าเป็น "ฝนดาวตกแม่"
สำหรับปี2562 คาดว่าฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ มีอัตราการตกสูงสุด 100ดวงต่อชั่วโมง ในคืนวันที่12ส.ค. ถึงรุ่งเช้าวันที่13ส.ค. มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ในกลุ่มดาวเพอร์เซอุส บริเวณท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เนื่องจากคืนดังกล่าวมีแสงจันทร์รบกวน ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 04:00 น. ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมแก่การสังเกตการณืที่สุด คือ ตั้งแต่ 04:00 น.ถึงรุ่งเช้า ผู้สนใจชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าและมองเห็นได้ทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์
ทั้งนี้ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับ2 รองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสสันสวยงาม เกิดจากฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัดเทิล เหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีฝุ่นดังกล่าวจะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีผลกระทบต่อโลก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
พาราฟิตบ่มน้ำยางข้น จาก 21 วันเหลือแค่ 3
ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เผยว่า ปกติการผลิตน้ำยางพาราข้นที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีส่วนผสมของแอมโ...
-
ข่าวที่โพสต์วันที่8สิงหาคม2562 หายไป เกิดเหตุสารเคมีในโรงงานรั่ว พนักงานวิ่งหนีตาย เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุเอาไว้ได้ทัน จากเหตุการณ์นี้ไม...
-
1.4 หน่วยวัด การระบุหน่วยของการวัดปริมาตรต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นความยาวมวลอุณหภูมิอาจแตกต่างกันแต่ละประเทศ และในบางกรณี นำ...